พิธีการหลังน้ำพระพุทธมนต์ และการประสาทพร

“พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร” เป็นพิธีการอันศักดิ์สิทธิ์ มีอีกชื่อเรียกว่า “พิธีรดน้ำสังข์” หรือ “พิธีหลั่งน้ำสังข์” เป็นหนึ่งในพิธีที่สำคัญมากในงานแต่งงานแบบไทย มีความงดงาม เต็มไปด้วยคุณค่าทางวัฒนะธรรมแบบไทยแท้ ที่ใครต่อใครก็ต่างรู้สึกประทับใจ

พิธีการหลังน้ำพระพุทธมนต์ และการประสาทพร

พิธีการหลังน้ำพระพุทธมนต์ และการประสาทพร

ถ้าย้อนไปในสมัยก่อน พิธีแต่งงานจะมีทั้งการทำ “พิธีหลั่งน้ำสังข์ให้พร” และ “พิธีซัดน้ำ” ซึ่งถือได้ว่าเป็นขั้นตอนเดียวกัน โดยในพิธีการนี้พระสงฆ์จะเป็นผู้ทำพิธีโดยการตักน้ำมนต์ในบาตร มาซัดสาดลงไปที่คู่บ่าวสาว ระหว่างนั้นเหล่าเพื่อนเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะเข้ามาแกล้งนั่งห้อมล้อมเพื่อให้คู่บ่าวสาวต้องนั่งเบียดชิดกัน จะได้โดนน้ำซัดจนเปียกปอน แต่ในระยะเวลาต่อมาพิธีซัดน้ำก็ค่อยๆ หายไป ทำให้พิธีแต่งงานมีความกระชับมากขึ้น เหลือเพียงแต่ พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร เพียงอย่างเดียวเท่านั้นในปัจจุบัน

พิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพร จะทำหลังจากจบพิธีขันหมากเรียบร้อยแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในเวลาช่วงเช้า ใช้เวลาในการประกอบพิธีทั้งหมดประมาณ 2 ชั่วโมงก็เป็นอันเสร็จ โดยในขั้นแรกจะเริ่มจากการทำพิธีสงฆ์ เวลาการทำพิธีที่ดีคือ  10 โมงครึ่งเพื่อให้ทันพระฉันท์เพลตอน 11 โมง การนิมนต์พระสงฆ์มักนิยมนิมนต์จำนวน 9 รูปเพราะเลข 9 เป็นเลขมงคลตามความเชื่อของคนไทย

เริ่มพิธีเจ้าบ่าวจะทำการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ต่อจากนั้นพระสงฆ์ก็จะเจริญพระพุทธมนต์ เสร็จแล้วก็ ตามด้วยการถวายภัตตาหารเพลร่วมกัน ในระหว่างที่พระกำลังฉันเพลอยู่นั้น เจ้าบ่าวและเจ้าสาวก็สามารถพักผ่อนได้ตามสบาย หรือจะเดินเข้าไปทักทายแขกที่มาร่วมงานก็ได้ หลังจากที่พระฉันท์เสร็จเรียบร้อย คู่บ่าวสาวก็จะร่วมถวายเครื่องไทยธรรมให้แก่พระสงฆ์ จากนั้นพระสงฆ์อนุโมทนา คู่บ่าวสาวก็ร่วมกันกรวดน้ำอุทิศบุญกุศล แล้วรับน้ำพระพุทธมนต์เป็นอันเสร็จพิธีสงฆ์ ถ้าหากทำพิธีหลั่งน้ำสังข์ในตอนเช้าอาจจะเปลี่ยนจากเลี้ยงเพลเป็นเลี้ยงพระเช้าหรือตักบาตรเช้าร่วมกันไปเลยก็ได้

ในส่วนของเครื่องไทยทานหรือไทยธรรมที่ใช้ถวาย จะเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันของพระสงฆ์โดยนำมาจัดเป็นชุดๆ ตามจำนวนของพระสงฆ์ที่มาทำพิธี โดยส่วนมากก็มักจะจัดใส่ถาด จาน หรือขันน้ำแล้วผูกโบให้สวยงาม แต่จะมีเครื่องสังฆทานเพิ่มเติมจำพวกเครื่องดื่ม อาหารแห้ง และผ้าอาบน้ำหรือสบงเข้ามาร่วมด้วยก็ได้ จากนั้นเมื่อถึงเวลามงคล คู่บ่าวสาวก็ขึ้นนั่งตั่งเพื่อทำพิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพรที่ได้จัดเอาไว้ หรือจะใช้วิธีปูพรมนั่งกับพื้นแทนก็ได้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้จัดงาน โดยฝ่ายหญิงจะต้องนั่งด้านซ้ายมือของฝ่ายชาย ด้านหน้าจะมีหมอนเพื่อให้ทั้งคู่ได้รองมือและพานพุ่มดอกไม้สำหรับรับน้ำพระพุทธมนต์ นอกจากนี้บริเวณทางเดินก่อนถึงหน้าคู่บ่าวสาวจะมีหอยสังข์และขันที่บรรจุน้ำมนต์สำหรับเติมวางเอาไว้ ส่วนเพื่อนของคู่บ่าวสาวจะยืนอยู่ด้านหลังซึ่งถือได้ว่าเป็นภาพที่น่าประทับใจอย่างมาก

จากนั้นประธานในพิธี ซึ่งอาจจะเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ให้ความนับถือหรือจะเป็นพ่อแม่ของคู่บ่าวสาวก็ได้ จะเข้ามาเจิมหน้าผากให้กับคู่บ่าวสาวโดยเจิมเป็นจุด 3 เหลี่ยม 3 จุด จากนั้นก็คล้องมาลัยให้กับคู่บ่าวสาว และนำด้ายมงคลแผดสวมที่ศีรษะ ด้ายมงคลนี้จะทำจากสายสิณจน์มีลักษณะเป็นวงกลม มีสายโญงห่างกัน 2 ศอกเศษ จากนั้นผู้เป็นประทานในพิธีก็จะเริ่มพิธีหลั่งน้ำอำนวยพรให้แก่คู่บ่าวสาว แล้วจึงตามด้วยแขกที่มาร่วมงานก็จะทยอยกันขึ้นมาหลั่งน้ำอวยพรตามลำดับ จนครบทุกคนก็เป็นอันเสร้จเรียบร้อย จากนั้นผู้ใหญ่ที่เค้ารพนับถือก็จะเข้ามาถอดมงคลออกจากศีรษะ

ในพิธีหลั่งน้ำพระพุทธมนต์และประสาทพรสมัยนี้เจ้าภาพมักจะจัดของชำร่วยเล็กๆ น้อยๆ หลังจากจบพิธีแล้วก็จะเอามาแจกให้กับผู้ร่วมงาน หลังจากนั้นก็จะนำน้ำหลั่งที่ลงสู่ขันหรือพานรองไปรดที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของคู่บ่าวสาว


Top
error: