ประเพณีการหมั้น ประเพณีก่อนการแต่งงานอันดีงามของคนไทย

เดี๋ยวนี้คู่บ่าวสาวหลายคู่นิยมที่จะจัดพิธีหมั้น และพิธีแต่งงานกันไปในวันเดียวกันเลยนะครับ อาจจะเพราะถือเอาความสะดวกและความประหยัดเป็นหลัก แต่ก็ยังมีคู่บ่าวสาวอีกหลายคู่เช่นกันที่นิยมทำพิธีหมั้นหมายกันก่อนที่จะทำการจัดพิธีแต่งงาน โดยอาจจะหมั้นเอาไว้ซัก 1 – 2 ปีหลังจากนั้นก็ศึกษาดูใจกันให้มากขึ้น ก่อนที่จะตกลงเข้าสู่พิธีแต่งงานกัน และในวันนี้ครับเราก็มาดูวิธีการหมั้นอย่างเดียวตามประเพณีไทยกันว่ามีอะไรบ้าง

ประเพณีการหมั้น

พิธีสู่ขอ

ในสมัยก่อนการเจรจาสู่ขอถือได้ว่าเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเป็นทางฝ่ายชายที่จะต้องเดินทางไปยังบ้านของฝ่ายหญิงเพื่อทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิง และตามธรรมเนียมของไทยที่แท้จริง ผู้ใหญ่ของทางฝ่ายหญิงก็จะต้องมีการขอผ่อนผันกันไปก่อนเพื่อจะได้ทำการสืบประวัติเชื้อสายของฝ่ายชายก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไป

แต่ในสมัยนี้การสู่ขอมักจะเป็นเพียงขั้นตอนพิธีการเท่านั้น เพราะได้ลดขั้นตอนการสืบประวัติฝ่ายชายไป และอาจจะเพราะตามปรกติแล้วผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเฒ่าแก่มาเจรจาสู่ขอนั้นก็จะต้องให้คำรับรองถึงความประพฤติของฝ่ายชาย และโดยส่วนมากก่อนวันที่เฒ่าแก่จะมาทำการเจรจาสู่ขอ

ทางครอบครัวของฝ่ายชายก็จะมาแจ้งข่าวให้ทางครอบครัวของฝ่ายหญิงได้ทราบล่วงหน้า เพื่อให้ทางครอบครัวของฝ่ายหญิงได้จัดเตรียมบ้านเรือนให้สะอาดสวยงามรวมทั้งจัดเตรียมอาหารเพื่อเลี้ยงต้อนรับ หรือฉลองกันตามธรรมเนียมประเพณี และหากการสู่ขอเป็นไปได้อย่างราบรื่น ก็จะมีการตกลงกันในเรื่องของสินสอดทองหมั้น และฤกษ์ยามกำหนดการต่างๆ กันต่อไป

ถ้าหากว่าผู้ที่เป็นเฒ่าแก่ที่ไปทำพิธีสู่ขอไปเพียงลำพัง เม่าแก่ก็มีหน้าที่จะต้องนำข่าวดีมาบอกกับครอบครัวของฝ่ายชาย แต่สมัยนี้พ่อแม่ของฝ่ายชายและตัวว่าที่เจ้าบ่าวเองมักจะเข้าไปอยุ่รวมในพิธีการสู่ขอของเฒ่าแก่ด้วย

ดังนั้นการตกลงเจรจาเกี่ยวกับพิธีการต่างๆ ก็จะสะดวกในการพูดคุยเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ มากขึ้น เพราะประเพณีของแต่ละท้องถิ่นนั้นมีความแตกต่างกันไป ซึ่งพิธีการรับขบวนขันหมากก็อาจจะแตกต่างด้วยเช่นกัน ซึ่งการรับขบวนขันหมากนี้เป็นหน้าที่ของฝ่ายเจ้าสาวที่จะต้องถามฝ่ายชายว่าจะมีแขกของฝั่งฝ่ายชายมากี่คน

เพื่อจะได้คำนวณรวมกับแขกของฝ่ายเจ้าสาวเอง จะได้จัดเตรียมการต้อนรับต่างๆ ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เพราะตามธรรมเรียมการต้อนรับของคนไทยนั้นจะต้องต้อนรับขับสู้อย่างดีเพราะถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ และหลังจากนั้นก็จะเป็นเรื่องของการกาฤกษ์งามยามดีสำหรับจัดพิธีมงคลสมรส

พิธีหมั้นอย่างเดียว

หลังจากที่มีการสู่ขอตามประเพณีของไทยแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็คือ การหาฤกษ์งามยามดี ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วคนไทยก็จะไปขอฤกษ์จากพระสงฆ์ที่วัด หรืออาจจะให้โหรและพราหมณ์ช่วยหาฤกษ์ที่ดีและเหมาะสมให้และเมื่อได้แล้วก็ต้องตระเตรียมพิธีการหมั้นและพิธีมงคลสมรสกันต่อไป โดยพิธีการหมั้นนั้นเปรียบดั่งการจับจองกันและกันก่อนที่จะจูงมือเข้าสู่พิธีการแต่งงาน โดยจุดประสงค์หลักของการหมั้นก็คือเพื่อให้คู่บ่าวสาวได้ศึกษานิสัยใจคอกัน ได้ปรับตัวเข้าหากัน เพื่อให้ชีวิตคู่ในอนาคตราบรื่นดีต่อไป

การจัดขันหมากหมั้น

ก่อนที่จะมีการยกขบวนขันหมากหมั้นเพื่อไปหมั้นเจ้าสาวนั้น ฝ่ายชายจะต้องทำากรจัดเตรียมขันหมากหมั้นเสียก่อน โดยให้เฒ่าแก่ของฝ่ายชายเป็นผุ้นำไปมอบให้กับเฒ่าแก่ของทางฝ่ายหญิง ซึ่งเฒ่าแก่ของฝ่ายชายนั้นจะเป็นคนเดียวกับที่ไปเจรจาสู่ขอ

โดยตามประเพรีนั้นจะให้คู่สามีภรรยาที่อยู่กินกันมานานแล้ว และมีความสุขมาเป็นเฒ่าแก่เพื่อเป็นการถือเคล็ดให้คู่บ่าวสาวได้อยู่กันอย่างมีความสุขจนแก่เฒ่าเหมือนกับเฒ่าแก่ที่มาทำพิธีให้นั่นเอง ซึ่งในบางท้องถิ่นอาจจะให้ผู้ชายหรือผู้หญิงทำหน้าที่เป็นเฒ่าแก่เพียงคนเดียว แต่ต้องให้เป็นคนที่แต่งงานแล้วและมีชีวิตแต่งงานอย่างยาวนานไม่เคยผ่านการหย่าร้าง ชีวิตคู่มีสุข และเป็นที่เคารพนับถือ

ประเพณีการจัดขันหมากนอกจากจะต้องเตรียมในเรื่องของจำนวนเงินสินสอดตามที่ได้ตกลงไว้แล้วกับครอบครัวของฝ่ายหญิง ก็ยังมีสิ่งที่จำเป็นและต้องจัดเตรียมอยู่ในขันหมากอีกหลายอย่าง ได้แก่ พานสำหรับใส่ของหมั้นที่เรียกว่าขันเงิน และ ขันทอง ซึ่งข้างในขันนั้นจะมีของมีค่าที่เป็นของหมั้น และยังมีหมากดิบจำนวน 8 ลูก พลูจำนวน 8 เรียง ถั่วเขียว 1 ถุง ข้าวเปลือก 1 ถุง งาดำ 1 ถุง ข้าวตอก 1 ถุง ใบเงิน ใบทอง และใบนาก นอกจากนี้ขันหมากหมั้นนั้นโดยส่วนใหญ่จะไม่มีการเตรียม ขนม ต้นกล้วย ต้นอ้อย ไม่มีการกั้นประตูเงินประตูทอง ไม่มีการเทขันหมาก และไม่ต้องทำการนับเงินสินสอด เพราะพิธีดังที่กล่าวมานั้นจะทำกันในวันแห่ขบวนขันหมากแต่งงาน ซึ่งหลังจากนี้ก็จะเป็นพิธียกขบวนขันหมากไปยังบ้านฝ่ายหญิงต่อไป


Top
error: