ในการแต่งงานนั้นจะต้องมีการจัดเตรียมสิ่งของ รวมไปถึงพิธีการแต่งงาน ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าบ่าวเจ้าสาวสมัยใหม่นั้นไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับการจัดงานเสียเท่าไหร่ วันนี้เรามาดูกันครับว่าเราจะจัดเตรียมขบวนขันหมากตามประเพณีของไทยอย่างไร และในการจัดมีขั้นตอนอะไรมาก่อนมาหลังบ้าง
ประเพณีการจัดขันหมากในงานแต่งงานนั้น ภายในขบวนจะแบ่งออกเป็น “ขันหมากเอก” และ “ขันหมากโท” พร้อมตามมาด้วยบริวารของขันหมาก ถ้าตามรูแบบฝีมือของชาววังที่นิยมทำกันนั้นมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ แบบใช้พลูจีบ กับแบบไม่ใช้พลูจีบ
โดยทั้งสองแบบจะใส่หมากพลูให้เป็นจำนวนคู่ แล้วนำมาจัดเรียงให้สวยงาม ส่วนที่ทำไมจะต้องใส่หมากพลูลงไปในพานขันหมากนั้นก็เพราะว่าในสมัยก่อนคนโฐราณนิยมกินหมากกัน จึงมักใช้เครื่องหมากพลูในการต้อนรับขับสู้ แสดงออกถึงมิตรไมตรีจิต และยังมีความหมายว่ายินดีต้อนรับอย่างมีไมตรีจิต การเตรียมขบวนขันหมากนอกจากจะต้องเตรียมขันหมากเอกแล้ว ยังมีพานอื่นๆ ที่ฝ่ายชายจะตองเตรียมทั้งหมดเพื่อเอาไปแห่ในขบวนขันหมากดังนี้
ขันหมากเอก
- พานขันหมาก โดยจะใช้พานที่ฝ่ายชายไปเชิญเอามาจากบ้านของฝ่ายหญิง ประกอบไปด้วยพานใส่พลู 2 พาน ด้านในพานจะมีหมาก 8 ผล พลู 4 เรียงจัดเรียงละ 8 ใบ ถุงเงินถุงทองอย่างละ 2 ใบด้านในถุงใส่ถั่วเขียว งาดำ ข้าวเปลือก ข้าวตอก และซองเงิน 1 ซอง
- พานสินสอดทองหมั้น เอาไว้ใช้สำหรับใส่เงินทอง เพชร พลอย นาค ทั้งหมดนี้เอาไว้ในพานเดียวกัน โดยพานจะใช้สองพานหรือพานเดียวก็ได้ จากนั้นก็เอาผ้าคลุมพานเอาไว้ ซึ่งผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าลูกไม้ ด้านในพานก็จะมีสินสอดเงินทอง และใบเงินใบทอง ใบนาค กลีบกุหลาบ กลีบดาวเรือง กลับบานไม่รู้โรย ดอกมะลิ ถุงเงิน ถุงทอง
- พานแหวนหมั้น นิยมใช้พานขนาดเล็กที่จะมีการออกแบบเอาไว้เพื่อวางรองแหวนพร้อมกับจัดดอกไม้ให้สวยงามให้กับพานด้วย
- พานธูปเทียนแพ ไม่จำเป็นที่จะต้องทำขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะต้องใช้พานนี้เพื่อรับไหว้กับผู้ใหญ่ด้วย
- พานสำหรับไหว้ หรือพานธูปเทียนแพ จะใช้จำนวนกี่พานก็แล้วแต่จะกำหนด ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้พานธูปเทียนแพในการไหว้ผุ้ใหญ่เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ผ้าขาวสำหรับนุ่ง 2 ผืนและผ้าห่ม 1 ผืน เทียนและธูปหอม ดอกไม้ 1 กระทง ทั้งหมดนี้เตรียมเพื่อเอาไว้ไหว้บรรพบุรุษที่ได้ล่วงลับไปแล้ว แต่ถ้าหากท่านยังมีชีวิตอยู่ก็ไม่ต้องไปจัดพานดังที่กล่าวมา ในส่วนที่สองจะเป้นการเตรียมสำรับสำหรับใช้ไหว้ญาติผู้ใหญ่ พ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย โดยจะต้องเตรียมผ้าขาวสำหรับนุ่งและห่มอย่างละ 1 ผืน หรือจะให้เสื้อผ้าหรือของอื่นแทนก็สามารถทำได้แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ธูปเทียนแพ
- พานขันหมากจำนวน 1 พานซึ่งจะให้เด็กผู้หญิงของฝ่ายเจ้าสาวเป็นผู้ถือเพื่อต้อนรับขบวนขันหมาก และนำขันหมากเจ้าบ่าว
- ร่วมที่เป็นสีขาว 2 คัน เพื่อให้เฒ่าแก่ทั้งสองฝ่ายได้ถือเอาไว้
- ช่อดอกไม้ขนาดเล็กๆ เพื่อให้เจ้าบ่าวถือ
- พานต้นกล้วย 1 คู่และต้นอ้อยอีก 1 คู่เพื่อเป็นการสื่อและถือเคล็ดให้คู่บ่าวสาวนั้นทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ต้นกล้วยยังมีความหมายให้คู่บ่าวสาวมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมืองด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็จะใช้ต้นเล็กหน้อยเพื่อเอามาให้เฒ่าแก้ของฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นคนถือ
พานขันหมากโท
- พานที่ใส่ขนมมงคล 9 อย่างจำนวน 2 พาน ส่วนขนมที่นำมาใส่ได้แก่ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองเอก, ขนมจ่ามงกุฎ, ขนมเสน่ห์จันทร์, ขนมลูกชุบ, ขนมหม้อแกง, ขนมข้าวเหนียวแดง, ขนมข้าวเหนียวแก้ว และขนมชั้น ส่วนขนมที่ไม่นิยมเอามาใช้ก็ได้แก่ ขนมต้มแดง ต้มขาว
- พานใส่ไก่ต้ม พานหมูนอนตอง
- พานใส่วุ้นเส้น 1 คู่
- พานมะพร้าว 1 คู่
- พานใส่กล้วยหอม จำนวนหวีที่ใส่จะต้องเป็นจำนวนคู่ และส้ม 1 คู่
- พานใส่ส้มโอ 1 คู่
- พานชมพูเพชร 1 คู่
- พานที่ใส่ขนมเสนห์จันทร์ หรือขนมเปี๊ยะ 1 คู่
- พานใส่กล่องขนม ตามจำนวนญาติผู้ใหญ่ที่เราต้องการจะแจก ซึ่งจะเป็นขนมอะไรก็ได้แล้วแต่ความเชื่อ
พานผ้าเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประกอบไปด้วย
- ธูปจำนวน 5 ดอก เทียนจำนวน 2 เล่ม
- มะหร้าวอ่อนจำนวน 1 คู่ กล้วยน้ำหว้าจำนวน 2 หวี ไก่ต้มจำนวน 1 ตัว หมอนอนตองจำนวน 1 ที่
- เหล่าจำนวน 1 คู่
- ผ้าขาวจำนวน 1 พับยาวประมาณ 4 ศอก หรือความยาวประมาณ 2 เมตร
สิ่งที่เจ้าสาวจะต้องทำการเตรียมได้แก่
- พานสำหรับเชิญขันหมาก เมื่อขบวนขันหมากมาถึงบ้านของฝ่ายหญิง และผ่านประตูเงินประตูทองมาแล้ว ฝ่ายหญิงก็มาเชิญขบวนขันหมากเข้าบ้านซึ่งเป็นธณรมเนียมมารยาทที่จะเชิญผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายเข้าบ้าน
- เด็กที่เป็นลูกหลานวัยเด็ก เพื่อเอาไว้ล้างเท้าให้กับเจ้าบ่าว ก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าบ้านของฝ่ายเจ้าสาว
- ประตูเงิน ประตูทอง ที่ส่วนใหญ่จะให้ญาติฝ่ายเจ้าสาวเป็นผู้กั้น
ลำดับของการจัดขบวนขันหมาก
- เฒ่าแก่และเด็กผู้ชายนำขบวนขันหมาก โดยในตอนเริ่มขบวนเฒ่าแก่จะยืนเรียงต่อจากเจ้าบ่าว แต่พอเดินทางใกล้จะถึงบ้านของเจ้าสาวเฒ่าแก่ก็จะเป็นฝ่ายออกมายืนด้านหน้าเพื่ออกมารับหน้าแทนเจ้าบ่าว
- เจ้าบ่าวจะถือช่อดอกไม้เล็กๆ เอาไว้หรืออาจจะถือพานธูปเทียนแพก็ได้ เมื่อเริ่มการแห่ ขบวนของเจ้าบ่าวจะอยู่ด้านหน้าสุดของขบวน ตามมาด้วยเฒ่าแก่ ในส่วนของต้นกล้วย และต้นอ้อยที่ตามมากับเจ้าบ่าวนั้นเมื่อถึงหน้าบ้านฝ่ายหญิงแล้วก็จะออกไปอยู่ด้านหลังสุดแต่ก็อยู่ก่อนขบวนรำ
- คือถือซองเงิน พ่อแม่ของเจ้าบ่าว
- คู่ต้นกล้วย และต้นอ้อย
- ขันหมากเอก ซึ่งผู้ถือคือญาติผู้ใหญ่
- คู่พานขันหมากพลู
- พานขันหมากใส่เงินสินสอด พานใส่ทองหมั้น
- พานใส่แหวนหมั้น พานธูปเทียนแพ
- พานที่ใส่ผ้าไหว้เอาไว้ทั้งคู่
- ขันหมากโท ให้ญาติหรือเพื่อนถือ
- คู่พานใส่ขาหมู
- คู่พานใส่วุ้นเส้น
- คู่พานใส่มะพร้าว
- คู่พานใส่กล้วยหอม ส้ม ชมพูเพชร
- คู่พานใส่ส้มโอ
- คู่พานที่ใส่ขนมมงคลเอาไว้ 9 อย่าง
- คู่พานใส่ขนมเสน่ห์จันทร์หรือขนมเปี๊ยะ
- คู่พานใส่ขนมกล่อง
- ปิดท้ายขบวนด้วยขบวนรำ
พิธีการแต่งงานนั้นอาจจะมีความยุ่งยากมากเสียหน่อย เพราะต้องมีการตระเตรียมของอยู่มากมายหลายอย่าง แต่ก็ไม่ได้มีความยุ่งยากซับซ้อนมากจนทำได้ยาก หากมีการวางแผนให้ดีก่อนล่วงหน้า งานทั้งหมดก็สามารถจบได้ด้วยดีได้