งานแต่งงานแบบชาวกูย(กวย) หรือพิธีซัตเต

ชาวกวยหรือชาวกูยเป็นชาวพื้นเมืองโบราณของจังหวัดสุรินทร์ อาศัยอยู่แน่นหนาที่หมู่บ้านช้าง บ้านตากลาง อำเภอท่าตูม ของจังหวัดสุรินทร์ โดยได้มีการอนุรักษณ์วิถีชีวิต และวัฒนะธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เอาไว้เช่น การแต่งงานแบบชาวกูย หรือที่เรียกว่า พิธีซัตเต แบบโบราณ จะเริ่มจัดขึ้นเมื่อชาวกูยได้ตกลงแต่งงานกัน

งานแต่งงานแบบชาวกูย(กวย) หรือพิธีซัตเต

งานแต่งงานแบบชาวกูย(กวย) หรือพิธีซัตเต

และเจ้าบ่าวได้ทำการสู่ขอเจ้าสาวเรียบร้อยแล้วจากผู้หลักผู้ใหญ่ เจ้าบ่าวก็จะเริ่มสร้างกระท่อมเพื่อใช้ในการประกอบพิธีในบริเวณลานบ้านเจ้าสาวด้วยตัวเองจนเสร็จเรียบร้อย และเมื่อถึงวันแต่งเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะสวมชุดชาวกูยพื้นเมือง และเจ้าบ่าวจะออกจากบ้านของตนเองเพื่อเดินทางไปบ้านของเจ้าสาว

หลังจากนั้นพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีจะพาเจ้าสาวลงมาจากบ้านไปยังที่กระท่อม เพื่อเริ่มประกอบพิธีกรรม เมื่อถึงเวลาเริ่มต้นพิธีเจ้าบ่าวจะสวมด้ายมงคล ส่วนเจ้าสาวจะสวมจะลอมซึ่งเป็นมงกุฎที่ทำจากใบตาล และจะมะซึ่งหมายถึงเครื่องประดับที่เจ้าบ่าวนำมาให้ จากนั้นก็เริ่มตรวจนับสินสอดเครื่องประกอบต่างๆ จากนั้นพราหมณ์ก็จะเริ่มทำพิธีบายศรีสู่ขวัญตามแบบของชาวกูย

จากนั้นก็ต่อด้วยพิธีถอดกระดูกคางคกไก่เพื่อเสี่ยงทายชีวิตคู่ ตามด้วยการผูกข้อมือให้แก่คู่บ่าวสาวจากผู้หลักผู้ใหญ่ เพื่อน และแขกที่เข้ามาร่วมงานก็จะช่วยกันอวยพรให้คู่บ่าวสาวตามลำดับจนกระทั้งเสร็จ

สุดท้ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะนั่งช้างไปยังวังทะลุ ซึ่งเป็นบริเวณที่ลำน้ำมูลและลำน้ำชีไหลมาบรรจบกัน เพื่อเป็นการบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางให้รู้ว่าทั้งสองได้ตกลงครองคู่เป็นสามีภรรยากันแล้วก็ถือเป็นอันจบพิธี

 

 


Top
error: